วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เทคนิคการนิเทศ

เทคนิคการนิเทศ

เทคนิคการพัฒนาการนิเทศการศึกษา

1.. เทคนิคการการนิเทศการศึกษา
                ความหมายการนิเทศ (Supervision) หมายถึง การให้ความช่วยเหลือ  การให้คำแนะนำ และการปรับปรุง เพื่อให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้
                ความหมายการนิเทศการสอน (Supervision of Teaching)  หมายถึง  กระบวนการของผู้นิเทศ ที่มุ่งให้คำแนะนำ และความช่วยเหลือครูผู้สอน ในการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการเรียนการสอน  เพื่อให้เกิดผลดีต่อการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียน
            ความสำคัญของการนิเทศการสอน
                การนิเทศการสอน (Supervision of Teaching)  เป็นกระบวนการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพ  ทันต่อสถานการณ์  นโยบายการศึกษา  หลักสูตรและองค์ประกอบต่างๆ ซึ่งความสำคัญของการนิเทศการสอนมีดังนี้
                        2.1 เพื่อพัฒนาทางด้านวิชาการ ความรู้ นวัตกรรมทางการศึกษา หลักสูตร นโยบายการจัดการศึกษา มีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
                       2.2 เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนเปลงสภาวะทางการเมือง  เศรษฐกิจ และสังคม มีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา
                       2.3 เพื่อแก้ไขปัญหาในการจัดการศึกษา  เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการจัดการศึกษา  เพื่อก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการจัดการศึกษา
                       2.4 เพื่อยกระดับมาตรฐานทางการศึกษา
3.  จุดประสงค์ของการนิเทศการสอน
                การนิเทศการสอน  เป็นกระบวนการที่คนกระทำกับคน คือผู้นิเทศกระทำกับผู้สอน  เป็นกระบวนการที่มุ่งพัฒนากระบวนการเรียนการสอน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ดังนี้
                      3.1  เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้สอน
                  3.1.1 ให้ข้อมูลแก่ผู้สอนในการปรับปรุงการเรียนการสอน
                  3.1.2  ให้ผู้สอนได้พัฒนาความรู้ ความสามารถในด้านการสอน
                      3.2  เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน
                          3.2.1  ส่งเสริมประสิทธิภาพด้านวิชาการของสถานศึกษา
                          3.2.2  ปรับปรุงคุณภาพด้านการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน
                      3.3  เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้สอน
                            3.3.1  มีความมั่นใจในการปฏิบัติการสอน
                      3.4  เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
                         3.4.1  สร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในการทำงานร่วมกันเกี่ยวกับการนิเทศการสอน
4.  การนิเทศการสอนแบบกัลยาณมิตร
กรอบความคิด
                ความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการด้านวิชาการในการปฏิรูปการเรียนรู้นั้น ทุกคนทุกฝ่ายนับเป็นองค์ประกอบสำคัญ  การเป็นเพื่อนร่วมทางที่จะเดินไปด้วยกัน อย่างไว้ใจและเชื่อว่าจะชี้แนะช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ให้ก้าวไปในทางที่ถูกต้องด้วยน้ำใจมิใช่อำนาจ คือหนทางแห่งกัลยาณมิตร
                นักวิชาการนิ เทศ ได้กล่าวเกี่ยวกับการนิเทศที่คำนึงถึงฐานวัฒนธรรมไทยว่า
-          ความเป็นกัลยาณมิตรเป็นกุญแจทองที่จะไขเปิดประตูแห่งความเป็นมิตร
-          ความอ่อนน้อมถ่อมตน  ยังเป็นคุณสมบัติที่คนไทยทุกคนยอมรับ
-          ความจริงใจเป็นเครื่องหล่อลื่นสัมพันธภาพ
-          ความมีน้ำใจ  เป็นหยดทิพย์ที่ทำให้จิตใจชุ่มชื่นบาน
-          การใช้คำพูดที่สุภาพ  จริงใจสม่ำเสมอเป็นเครื่องส่งเสริมความรู้สึกที่ดีต่อกัน
กัลยาณมิตร    ประการในการนิเทศ
1.   ปิโย          -  น่ารัก  สบายใจ  สนิทสนม  ชวนให้อยากปรึกษา
2.  ครุ              -  น่าเคารพ ประพฤติสมควรแก่ฐานะ อบอุ่น เป็นที่พึ่งปลอดภัย
3.  ภาวนีโย      -  น่ายกย่อง / ทรงคุณความรู้ /ภูมิปัญญาแท้จริง และหมั่น
                    ปรับปรุงตนอยู่เสมอ
4.  อตตา จ       -  รู้จักพูดให้ได้ผล  รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ  รู้ว่าควรพูดอะไร อย่างไร  เป้นที่ปรึกษาที่ดี
5.  วจนก  ขโม   -  อดทนต่อถ้อยคำ  พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษา / คำถามคำวิพากษ์วิจารณ์
6.  คมภีรญจ กถ  กตตา      -  แถลงเรื่องลึกล้ำได้  อธิบายเรื่องที่ยากให้ง่ายได้
7.  โน  จฏฐาเน  นิโยชเน    -  ไม่แนะนำเรื่องเหลวไหล  แนะไปในทางเสื่อม
องค์ประกอบของกัลยาณมิตร
1.   ให้ใจ                -  การปฐมนิเทศสร้างความเข้าใจร่วมกัน
2.  ร่วมใจ               -  การร่วมคิด  ร่วมทำงาน  แลกเปลี่ยนรู้ซึ่งกันและกัน
3.  ตั้งใจ             -  เป็นการร่วมกันสร้างสรรค์คุณภาพในการทำงาน
                                +  มุ่งมั่นสู่เป้าหมายร่วมกัน
                                +  ช่วยกันแก้ปัญหา
                                +  ถือว่าผลงานคือคุณภาพของผู้เรียน
4.  เปิดใจ                 -  การวัดและประเมินตนเอง  ประเมินผลงาน
                                +  ประเมินผลการพัฒนาการอย่างเที่ยงตรง
                                +  ปราศจากอคติ
กระบวนการกัลยาณมิตร
1.  ไม่มุ่งเน้นปริมาณ    -  เน้นความชัดเจนของขั้นตอน  วิธีการ
2.  สานพลังอาสา       -  เริ่มที่ศรัทธา / อาสาสมัคร  / ไม่ใช่การสั่งการ
3.  เสวนาร่วมกัน        -  ใช้อปริหานิยธรรม ๗
                                  +  หมั่นประชุมเป็นเนืองนิตย
                                  +  พร้อมเพรียงทำกิจที่พึงทำ
                                  +  ปฏิบัติตามหลักการที่วางไว้/สิ่งใดดีอยู่รู้รักษา
                                  +  ศรัทธา  ยอมรับนับถือกันและกัน
                                  +  ไม่บังคับ  /ไม่ห้ำหั่น /ลุแก่อำนาจบังคับบัญชา
                                  +  พัฒนาไปตามสภาพจริงของสถานศึกษาที่เป็นเรื่องชัดแจ้ง
                                  +  คุ้มครองเสริมแรง  ห้ำกลังใจ
4.  สร้างสรรค์ความเป็นมิตร   -  ชักชวนให้ร่วมกันพัฒนา
5.  ฝึกคิดมุ่งมั่น               -  มีความเพียร  อดทน  รู้จักใช้เหตุผล
6.  ทุกวันปฏิบัติ               -  ทำอย่างต่อเนื่อง
7.  จัดทำบันทึกแนวทาง      -  รู้จักสังเกตแล้วบันทึก
ปัจจัยเกื้อหนุน    ประการ
1.       องค์ความรู้
2.       แรงหนุนจากต้นสังกัด
3.       ผู้บริหารทุกระดับ
4.       บุคลากรทั้งสถานศึกษา
บทบาทของผู้บริหารในการนิเทศ
                กระบวนกัลยาณมิตร  เป็นการปฏิบัติจริงในสภาพที่เป็นจริง  ผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศต้องมีการปรึกษาหารือ  ติดต่อสื่อสาร เยี่ยมเยียน  แลกเปลี่ยนเรียนรู้  ช่วยแก้ปัญหาและให้กำลังใจกัน
                ถ้าจะเปรียบผู้นิเทศก็เป็นเหมือนครูฝึก ( coach )  ของผู้สอน  ที่จะต้องโดดลงไปร่วมคิดร่วมทำ  มิใช่เพียงร้องบอกให้ผู้สอนลองผิด ลองถูก  ตามยถากรรม  อาจต้องบอกวิธีให้รู้  สาธิตให้ดุ  และช่วยแก้ไขข้อบกพร่องที่พบ
                การพบปะสนทนาเมื่อเวลานิเทศ  ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร  ครู  ศึกษานิเทศก์ กรรมการศึกษา  ชุมชนรอบๆสถานศึกษา  จะได้ทราบทุกข์ สุข  และก่อให้เกิดความเข้าใจในปัญหาพื้นฐาน  เพื่อกำหนดจุดมุ่งหมายในการทำงานต่อไป
คลินิคครูมีความจำเป็นสำหรับสถานศึกษา  โดยจัดช่วงเวลาที่ครูสมารถมาพบในลักษณะกลุ่มสนใจ  หรือตามประเด็นปัญหาที่มีผู้นิเทศสนทนาให้คำแนะนำ โดยเตรียมข้อมูลเพื่อพบปะสนทนากันในคลินิค”   การเข้าใช้บริการคลินิกครูอาจมีลักษณะเป็นรายบุคคล  เป็นคู่  หรือเป็นกลุ่มย่อยตามความสมัครใจ  ครูที่เข้าพบเป็นเปิดประเด็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  ในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  มุ่งสนับสนุนในการพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนโดยผู้บริหารต้องเป็นผู้นำในการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้  โดยมีโครงการร่วมคิดร่วมทำ เพื่อปรับปรุงพัฒนา  ซึ่งผู้บริหารอาจจัดระบบนิเทศเป็น  3  ลักษณะ  คือ
         1.       นิเทศการจัดบรรยากาศห้องเรียน
         2.       นิเทศการจัดการเรียนการสอน
         3.       การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันของครู
หลักประการสำคัญของกัลยาณมิตรนิเทศ  คือเข้าใจวัฒนธรรมการคิดและการทำการคิดและการทำงานของครู ผู้นิเทศย่อมตระหนักดีว่าครูทำงานหนักและจำเจ เดิมๆ ซ้ำๆ  หากมีใครสักคนเข้ามาดูงานของเขา  อาจทำให้เขาเครียด  เกร็ง  ระมัดระวัง และรู้สึกไม่เป็นธรรมชาติ ธรรมดา  เพราะเขาคิดว่าต้องมีภาระเพิ่มขึ้น  การทำงานหนักขึ้นและอาจเกิดการต่อต้าน ผู้นิเทศจึงจำเป็นต้องเริ่มงานด้วยความสัมพันธ์ที่ดี  ให้ครูรู้สึกไว้วางใจ  พร้อมกับนำกระบวนการนิเทศสอดแทรกกลมกลืนเข้าไปกับภาระงานปกติของครู
                การเยี่ยมเยียน การติดต่อสื่อสารกับครูควรหลีกเลี่ยงการใช้อำนาจของการตรวจสอบหรือพิพากษาว่าใครถูก ใครผิด   แต่ควรเป็นการให้กำลังใจ  ใช้วิธีการพูดทางบวก มีการแลกเปลี่ยนความคิด  และปรึกษาหารือให้ครูรู้จักสบายใจ
แนวทางการนิเทศ
           1.       สร้างความสัมพันธ์ แจ้งภารกิจและความมุ่งหมาย จัดเวลา  กำหนดวิธีการทำงาน
           2.       จัดนิทรรศการทางวิชาการและสาธิตรูปแบบการสอน
           3.       แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์จริง  จัดบริการเอกสารทางวิชาการ
           4.       วางแผนร่วมกัน  เพื่อศึกษาดูงาน
           5.       แนะให้ปฏิบัติตามสภาพจริง
           6.       พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผลการปฏิบัติ  และหาทางแก้ไขปรับปรุง
           7.       เข้าร่วมประชุม  สัมมนา  การฝึกอบรมตามโอกาส
           8.       นำเสนอผลงานในการประชุมปฏิบัติการ
            9.       วัดและประเมินผลงานกัลยาณมิตรนิทศ
สรุปประเด็นสำคัญ
                หลักการสำคัญ  พึงตระหนักว่าการนิเทศนั้นมิใช่การสั่งการ ตรวจสอบ บังคับบัญชา มิใช่การนิเทศกระดาษ  แต่เป็นการนิเทศคน
                กระดาษ เป็นแผนการสอน  คะแนนผลสัมฤทธิ์  หรือโครงการ เป็นองค์ประกอบที่แสดงร่องรอยการเรียนรู้ส่วนหนึ่ง  แต่ที่สำคัญที่สุด  ผู้นิเทศต้องนิเทศคน  พูดคุยกับครู
ดูพฤติกรรมของนักเรียน  สังเกตบรรยากาศและความสัมพันธ์ในสังคมเรียนรู้นั้นเพื่อเข้าถึงสถานภาพและปัญหา  นำไปสู่แนวทางการนิเทศที่ถูกต้อง
สรุปเป็นบทร้อยกรองว่า
           

     ไม่ตั้งตนเป็นคนเหนือคนอื่น             ควรหยิบยื่นสิ่งดีดีมีมอบให้
เสนอแนะให้ขวัญกำลังใจ                                 แสดงว่าจริงใจไม่ทิ้งกัน
ฟังข้อมูลหนุนให้ทำนำให้คิด                            ชี้ถูกผิด  แนะทางอย่างสร้างสรรค์
นำเทคนิคพลิกแพลงมาแบ่งปัน                       เป็นเพื่อนขวัญบนเส้นทางย่างก้าวเดิน
รูปแบบการนิเทศแนวใหม่บูรณาการสู่สถานศึกษา


                                                                              * บุญเรือน ปานจันทร์

                  การนิเทศการสอนมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาครูให้มีความรู้เข้าใจในการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุจุดประสงค์และเป้าหมายของหลักสูตร ปัจจุบันศึกษานิเทศก์มีจำนวนน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการของสถานศึกษา และสถานศึกษาไม่มีความรู้ความเข้าใจ ในการนิเทศภายในสถานศึกษาเพียงพอ  สถานศึกษา ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหาร     สถานศึกษา รองผู้ผู้บริหารสถานศึกษา ครูที่ทำหน้าที่หัวหน้ากลุ่มสาระและครูที่ทำหน้าที่ปฎิบัติการสอน  ได้ศึกษารูปแบบการนิเทศ และสามารถนำประสบการณ์ที่ศึกษาจากรูปแบบที่จะเขียนมาประยุกต์ใช้ในการนิเทศภายในสถานศึกษาเชิงสร้างสรรค์
                ความหมายของการนิเทศ  ตามรูปศัพท์พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2525 ได้ให้ความหมายของ การนิเทศว่า  การชี้แจง การแสดง การจำแนก

                   การนิเทศ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Supervision ซึ่งประกอบด้วย Superและ vision
Super หมายถึง ดีมาก วิเศษ  และvision หมายถึง การเห็น การมอง การดู พลังในการจินตนาการ
                ฉะนั้น Supervision หมายถึง การมองเห็นที่ดีมาก เห็นโดยรวบ การดูจากที่สูงกว่า การมองจากเบื้องบน การมีโลกทรรศนะกว้างขวางกว่า หรือผู้ที่ทำหน้าที่นิเทศ คือให้ความช่วยเหลือ แนะนำ ชี้แจง ปรับปรุง เพื่อช่วยเหลือให้บุคลากรใต้ความรับผิดชอบแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วหรือเผชิญอยู่ให้สำเร็จลุล่วงด้วยด้วยดี

                   สมลักษณ์   พรหมมีเนตร ( 2544  :  21)   สรุปได้ว่า  ความหมายของการนิเทศการศึกษานั้น มิอาจจะกำหนดให้แน่นอนตายตัวลงไปได้ เพราะมีความหมายหลายประการทั้งในวงกว้างและวงแคบ การที่จะกำหนดว่าการนิเทศการศึกษา คืออะไรนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับแนวความคิด ความรู้ ประสบการณ์ของแต่ละบุคคลซึ่งแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามถ้าจะกล่าวโดยรวมการนิเทศการศึกษาน่าจะหมายถึงการกระตุ้นให้การทำงานประสบผลสำเร็จโดยผ่านตัวกลาง เช่น สื่อการเรียนการสอน ระบบงาน ระยะเวลาการทำงานหรือบุคคลอื่น เช่น ครู ผู้บริหาร  ศึกษานิเทศก์หรือผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาหรืออาจกล่าวได้อีกนัยหนึ่ง เป็นกระบวนการทำงานและความร่วมมือระหว่างผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการสอนของครูและการเรียนของนักเรียน

อเนก  สงแสง (2540 : 6) ไดกลาวถึงหลักการนิเทศไวดังนี้

                           1. การนิเทศตองมีความถูกตองตามหลักวิชาการ มีนโยบาย จุดมุงหมาย และแนวทางในการปฏิบัติการนิเทศที่แนวแน ชัดเจนเปนไปตามกฎเกณฑ์ และสภาพปญหาหรือความ เปนจริงในเรื่องนั้นๆ มีวิวัฒนาการทั้งดานเนื้อหา  สาระ เครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณตลอดจนกลวิธีในการนิเทศมีการติดตามและประเมินผลการนิเทศอยางมีระบบ

                           2. การนิเทศเปนการชวยกระตุน      ประสานงานและแนะนําใหเกิดความเจริญงอกงามแกผูสอนและผูเรียนมากกวาการจับผิด         มีการฝกอบรมวิชาชีพเพื่อครูจะไดเขาใจหลักการสอนทั่วไปพัฒนาเทคนิควิธีสอนใหมีประสิทธิภาพ        ฝกทักษะและประสบการณในการใชวัสดุอุปกรณการสอนพัฒนาเจตคติในการเรียนการเรียนการสอนใหอยูในเกณฑดี ปรับปรุงเอกสารแผน   การสอนเปนตน

                           3. การนิเทศตั้งอยูบนรากฐานของประชาธิปไตย ผูนิเทศเปนผูนําทางดานวิชาการไมใชผูใชอํานาจ ยอมรับความแตกตางระหวางบุคคล และสงเสริมใหมีการแสดงออกโดยทั่วถึง ผูรับการนิเทศมีอิสระคิดเริ่มและมีสวนรวมในการกําหนดแผนปฏิบัติงาน ทุกคนมี

สวนรวมในการตัดสินใจ

                           4. การนิเทศเปนกระบวนการทางวิทยาศาสตร  มีขั้นตอนการนิเทศตามลําดับ มีระเบียบวิธีการ  มีการรวบรวมขอมูลและสรุปผลมาใชในการนิเทศ   มีการประเมินผลและติดตามผล

                             วัชรา  เล่าเรียนดี (2550 : 3)  ให้ความหมาย ของการนิเทศการศึกษาว่า  หมายถึง  กระบวนการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างผู้ให้การนิเทศหรือผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ  เพื่อที่จะพัฒนาหรือปรับปรุงคุณภาพการจัดการศึกษาและการจัดการเรียนการสอนของครูเพื่อให้ได้มาซึ่งประสิทธิผลใน    การเรียนของนักเรียน

                             Burton and Brueckner (1983 อ้างถึงใน ครุรักษ์  ภิรมย์รักษ์, 2538 : 13) กล่าวถึงหลักการนิเทศการสอนไว้ดังนี้

                           1. การบริหารต้องคำนึงถึงการจัดเตรียมการอำนวยการความสะดวกในด้านวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ และการดำเนินงานทั่วไป

                           2. การนิเทศการสอนต้องคำนึงถึงการปรับปรุงการสอนโดยเฉพาะ

                           3. การบริหารและการนิเทศมีภารกิจที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้การดำเนินงานทั้งสองอย่างจะต้องประสานงานสอดคล้องกัน มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

                           4. การนิเทศที่ดีต้องอยู่บนพื้นฐานของปรัชญาและวิทยาศาสตร์

                           5. การนิเทศที่ดีต้องอยู่บนพื้นฐานของปรัชญาประชาธิปไตย

                           6. การนิเทศที่ดีต้องใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ มีเจตคติที่ดีต่อวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และมีเจตคติที่ดีต่อกระบวนการไม่หยุดนิ่งทางการศึกษาของสังคม

                                         7. การนิเทศที่ดีต้องเป็นการสร้างสรรค์ และไม่กำหนดแน่นอนตายตัวว่าจะต้องทำอย่างไร

                           8. การนิเทศที่ดี ในสถานการณ์ที่วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้รับการควบคุม

อย่างแน่นอนแล้ว แต่ไม่สามารถนำมาใช้ได้ จะต้องใช้กระบวนการแก้ปัญหาอื่นๆ มาทำการศึกษาปรับปรุงและประเมินผล ทั้งที่เป็นผลลัพธ์และกระบวนการทำงาน

                           9. การนิเทศที่ดีจะต้องดำเนินการด้วยวิธีการที่มีระเบียบแบบแผน มีการประสานงานปฏิบัติการอย่างมีแผน และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

                           10. การนิเทศที่จะต้องพิจารณาให้ความสำคัญกับผลที่จะได้รับ และความมั่นคงถาวรของผลที่ได้รับนั้น

                           11. การนิเทศที่จะต้องเป็นวิชาชีพ กล่าวคือ เป็นการแสวงหาวิธีการต่างๆ เพิ่มขึ้นเพื่อที่จะใช้ในการประเมินบุคลากร วิธีการและผลที่ได้รับ

 รูปแบบการนิเทศ

                           การนิเทศการศึกษา  เป็นการศึกษาปัญหาของแต่ละโรงเรียนให้มีความเข้าใจในกระบวนการศึกษาทุกรูปแบบ โดยผู้นิเทศพร้อมจะให้คำแนะนำ วางแผน ปรึกษาหารือร่วมกัน เพื่อช่วยเหลือครู และผู้บริหารการศึกษาตามความเหมาะสม  เช่น

                                    รูปแบบการนิเทศแบบคลินิก

                                   เป็นกระบวนการสำหรับการนิเทศการสอนภายในห้องเรียน ซึ่งถือว่าห้องเรียน เป็นห้องคลินิกสำหรับวิเคราะห์จุดเด่นจุดด้อยในการดำเนินการสอนของครู  ได้ดำเนินการรูปแบบการดำเนินงานหลายลักษณะ และสงัด อุทรานันท์ ( 2530 : 183-185)  ได้เสนอแนะกระบวนการนิเทศแบบคลินิกที่นำมาใช้ในระบบโรงเรียนในประเทศไทย มี 5 ขั้นตอน ดังนี้

                                   ขั้นตอนที่ 1 การประชุมปรึกษาหารือ

                                   ขั้นตอนที่ 2 การสังเกตการณ์สอน

                                   ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูล

                                   ขั้นตอนที่ 4 การประชุมนิเทศ

                                   ขั้นตอนที่ 5 การพัฒนาการสอน

                           2. รูปแบบการนิเทศทางตรง

                                   การนิเทศทางตรงหมายถึง กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้รับการนิเทศในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา





                   หลักการปฏิบัติ



                           การนิเทศทางตรงมีกระบวนการดำเนินการ  ดังนี้

1. ถูกต้องตามหลักวิชาการ

2. มีจุดมุ่งหมายชัดเจนประเมินผลได้ด้วยตนเอง

3. วางแผนอย่างมีระบบ

4. เป็นประชาธิปไตย

5. เป็นกระบวนการส่งเสริมสร้างสรรค์

6. มุ่งส่งเสริมบำรุงขวัญ

7. ทำงานเป็นทีมมากกว่าแบ่งแยกเป็นรายบุคคล

8. เน้นพัฒนาวิชาชีพมากกว่าความสัมพันธ์ส่วนบุคคล

9. ส่งเสริมและพัฒนาครูตามความถนัดและความสามารถ

10. ควรเริ่มต้นจากสภาพการณ์ปัจจุบันที่กำลังเผชิญอยู่

11. นิเทศอย่างง่ายๆ ไม่มีพิธีการ

12. ใช้เครื่องมือและกลวิธีง่าย



                   สรุป  การนิเทศการศึกษา มีความพยายามที่ให้การศึกษาไทยก้าวหน้าและพัฒนาสถานศึกษาให้ทันต่อเหตุการณ์และโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และช่วยเหลือสนับสนุนให้ครูสามารถพัฒนางานในวิชาชีพของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล



บรรณานุกรม

วัชรา  เล่าเรียนดี. การนิเทศการสอน. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร  วิทยาเขตพระราชวัง

                   สนามจันทร์, 2550.

สมลักษณ์  พรหมมีเนตร. คู่มือการบริหารงานวิชาการที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางของผู้ช่วย

ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 7. พิษณุโลก :           หน่วยศึกษานิเทศก์  กรมสามัญศึกษา, 2544.

สงัด  อุทรานันท์. การนิเทศการศึกษา : หลักการทฤษฎี และปฏิบัติ. (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม).       

                    พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มิตรสยาม, 2530.

อเนก  สองแสง. การนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ : ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา  คณะคุรุศาสตร์                                       

                    สถาบันราชภัฏพระนคร, 2540.

Bruton, William H. and Leoj. Brueckner, Supervision : A Social Process, 2d ed . New

                   York : Appleton-Century Crofts, 1947.















· คำสำคัญ (keywords): รูปแบบการนิเทศแนวใหม่, บูรณาการสู่สถานศึกษา
· เลขที่บันทึก: 362279
· อ่าน: แสดง · ดอกไม้: 0 · ความเห็น: 0 · สร้าง: 3 ปีที่แล้ว

· สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆ