วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

รูปแบบการนิเทศแนวใหม่บูรณาการสู่สถานศึกษา


                                                                              * บุญเรือน ปานจันทร์

                  การนิเทศการสอนมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาครูให้มีความรู้เข้าใจในการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุจุดประสงค์และเป้าหมายของหลักสูตร ปัจจุบันศึกษานิเทศก์มีจำนวนน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการของสถานศึกษา และสถานศึกษาไม่มีความรู้ความเข้าใจ ในการนิเทศภายในสถานศึกษาเพียงพอ  สถานศึกษา ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหาร     สถานศึกษา รองผู้ผู้บริหารสถานศึกษา ครูที่ทำหน้าที่หัวหน้ากลุ่มสาระและครูที่ทำหน้าที่ปฎิบัติการสอน  ได้ศึกษารูปแบบการนิเทศ และสามารถนำประสบการณ์ที่ศึกษาจากรูปแบบที่จะเขียนมาประยุกต์ใช้ในการนิเทศภายในสถานศึกษาเชิงสร้างสรรค์
                ความหมายของการนิเทศ  ตามรูปศัพท์พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2525 ได้ให้ความหมายของ การนิเทศว่า  การชี้แจง การแสดง การจำแนก

                   การนิเทศ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Supervision ซึ่งประกอบด้วย Superและ vision
Super หมายถึง ดีมาก วิเศษ  และvision หมายถึง การเห็น การมอง การดู พลังในการจินตนาการ
                ฉะนั้น Supervision หมายถึง การมองเห็นที่ดีมาก เห็นโดยรวบ การดูจากที่สูงกว่า การมองจากเบื้องบน การมีโลกทรรศนะกว้างขวางกว่า หรือผู้ที่ทำหน้าที่นิเทศ คือให้ความช่วยเหลือ แนะนำ ชี้แจง ปรับปรุง เพื่อช่วยเหลือให้บุคลากรใต้ความรับผิดชอบแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วหรือเผชิญอยู่ให้สำเร็จลุล่วงด้วยด้วยดี

                   สมลักษณ์   พรหมมีเนตร ( 2544  :  21)   สรุปได้ว่า  ความหมายของการนิเทศการศึกษานั้น มิอาจจะกำหนดให้แน่นอนตายตัวลงไปได้ เพราะมีความหมายหลายประการทั้งในวงกว้างและวงแคบ การที่จะกำหนดว่าการนิเทศการศึกษา คืออะไรนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับแนวความคิด ความรู้ ประสบการณ์ของแต่ละบุคคลซึ่งแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามถ้าจะกล่าวโดยรวมการนิเทศการศึกษาน่าจะหมายถึงการกระตุ้นให้การทำงานประสบผลสำเร็จโดยผ่านตัวกลาง เช่น สื่อการเรียนการสอน ระบบงาน ระยะเวลาการทำงานหรือบุคคลอื่น เช่น ครู ผู้บริหาร  ศึกษานิเทศก์หรือผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษาหรืออาจกล่าวได้อีกนัยหนึ่ง เป็นกระบวนการทำงานและความร่วมมือระหว่างผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการสอนของครูและการเรียนของนักเรียน

อเนก  สงแสง (2540 : 6) ไดกลาวถึงหลักการนิเทศไวดังนี้

                           1. การนิเทศตองมีความถูกตองตามหลักวิชาการ มีนโยบาย จุดมุงหมาย และแนวทางในการปฏิบัติการนิเทศที่แนวแน ชัดเจนเปนไปตามกฎเกณฑ์ และสภาพปญหาหรือความ เปนจริงในเรื่องนั้นๆ มีวิวัฒนาการทั้งดานเนื้อหา  สาระ เครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณตลอดจนกลวิธีในการนิเทศมีการติดตามและประเมินผลการนิเทศอยางมีระบบ

                           2. การนิเทศเปนการชวยกระตุน      ประสานงานและแนะนําใหเกิดความเจริญงอกงามแกผูสอนและผูเรียนมากกวาการจับผิด         มีการฝกอบรมวิชาชีพเพื่อครูจะไดเขาใจหลักการสอนทั่วไปพัฒนาเทคนิควิธีสอนใหมีประสิทธิภาพ        ฝกทักษะและประสบการณในการใชวัสดุอุปกรณการสอนพัฒนาเจตคติในการเรียนการเรียนการสอนใหอยูในเกณฑดี ปรับปรุงเอกสารแผน   การสอนเปนตน

                           3. การนิเทศตั้งอยูบนรากฐานของประชาธิปไตย ผูนิเทศเปนผูนําทางดานวิชาการไมใชผูใชอํานาจ ยอมรับความแตกตางระหวางบุคคล และสงเสริมใหมีการแสดงออกโดยทั่วถึง ผูรับการนิเทศมีอิสระคิดเริ่มและมีสวนรวมในการกําหนดแผนปฏิบัติงาน ทุกคนมี

สวนรวมในการตัดสินใจ

                           4. การนิเทศเปนกระบวนการทางวิทยาศาสตร  มีขั้นตอนการนิเทศตามลําดับ มีระเบียบวิธีการ  มีการรวบรวมขอมูลและสรุปผลมาใชในการนิเทศ   มีการประเมินผลและติดตามผล

                             วัชรา  เล่าเรียนดี (2550 : 3)  ให้ความหมาย ของการนิเทศการศึกษาว่า  หมายถึง  กระบวนการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างผู้ให้การนิเทศหรือผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ  เพื่อที่จะพัฒนาหรือปรับปรุงคุณภาพการจัดการศึกษาและการจัดการเรียนการสอนของครูเพื่อให้ได้มาซึ่งประสิทธิผลใน    การเรียนของนักเรียน

                             Burton and Brueckner (1983 อ้างถึงใน ครุรักษ์  ภิรมย์รักษ์, 2538 : 13) กล่าวถึงหลักการนิเทศการสอนไว้ดังนี้

                           1. การบริหารต้องคำนึงถึงการจัดเตรียมการอำนวยการความสะดวกในด้านวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ และการดำเนินงานทั่วไป

                           2. การนิเทศการสอนต้องคำนึงถึงการปรับปรุงการสอนโดยเฉพาะ

                           3. การบริหารและการนิเทศมีภารกิจที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้การดำเนินงานทั้งสองอย่างจะต้องประสานงานสอดคล้องกัน มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

                           4. การนิเทศที่ดีต้องอยู่บนพื้นฐานของปรัชญาและวิทยาศาสตร์

                           5. การนิเทศที่ดีต้องอยู่บนพื้นฐานของปรัชญาประชาธิปไตย

                           6. การนิเทศที่ดีต้องใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ มีเจตคติที่ดีต่อวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และมีเจตคติที่ดีต่อกระบวนการไม่หยุดนิ่งทางการศึกษาของสังคม

                                         7. การนิเทศที่ดีต้องเป็นการสร้างสรรค์ และไม่กำหนดแน่นอนตายตัวว่าจะต้องทำอย่างไร

                           8. การนิเทศที่ดี ในสถานการณ์ที่วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้รับการควบคุม

อย่างแน่นอนแล้ว แต่ไม่สามารถนำมาใช้ได้ จะต้องใช้กระบวนการแก้ปัญหาอื่นๆ มาทำการศึกษาปรับปรุงและประเมินผล ทั้งที่เป็นผลลัพธ์และกระบวนการทำงาน

                           9. การนิเทศที่ดีจะต้องดำเนินการด้วยวิธีการที่มีระเบียบแบบแผน มีการประสานงานปฏิบัติการอย่างมีแผน และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

                           10. การนิเทศที่จะต้องพิจารณาให้ความสำคัญกับผลที่จะได้รับ และความมั่นคงถาวรของผลที่ได้รับนั้น

                           11. การนิเทศที่จะต้องเป็นวิชาชีพ กล่าวคือ เป็นการแสวงหาวิธีการต่างๆ เพิ่มขึ้นเพื่อที่จะใช้ในการประเมินบุคลากร วิธีการและผลที่ได้รับ

 รูปแบบการนิเทศ

                           การนิเทศการศึกษา  เป็นการศึกษาปัญหาของแต่ละโรงเรียนให้มีความเข้าใจในกระบวนการศึกษาทุกรูปแบบ โดยผู้นิเทศพร้อมจะให้คำแนะนำ วางแผน ปรึกษาหารือร่วมกัน เพื่อช่วยเหลือครู และผู้บริหารการศึกษาตามความเหมาะสม  เช่น

                                    รูปแบบการนิเทศแบบคลินิก

                                   เป็นกระบวนการสำหรับการนิเทศการสอนภายในห้องเรียน ซึ่งถือว่าห้องเรียน เป็นห้องคลินิกสำหรับวิเคราะห์จุดเด่นจุดด้อยในการดำเนินการสอนของครู  ได้ดำเนินการรูปแบบการดำเนินงานหลายลักษณะ และสงัด อุทรานันท์ ( 2530 : 183-185)  ได้เสนอแนะกระบวนการนิเทศแบบคลินิกที่นำมาใช้ในระบบโรงเรียนในประเทศไทย มี 5 ขั้นตอน ดังนี้

                                   ขั้นตอนที่ 1 การประชุมปรึกษาหารือ

                                   ขั้นตอนที่ 2 การสังเกตการณ์สอน

                                   ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูล

                                   ขั้นตอนที่ 4 การประชุมนิเทศ

                                   ขั้นตอนที่ 5 การพัฒนาการสอน

                           2. รูปแบบการนิเทศทางตรง

                                   การนิเทศทางตรงหมายถึง กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้รับการนิเทศในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา





                   หลักการปฏิบัติ



                           การนิเทศทางตรงมีกระบวนการดำเนินการ  ดังนี้

1. ถูกต้องตามหลักวิชาการ

2. มีจุดมุ่งหมายชัดเจนประเมินผลได้ด้วยตนเอง

3. วางแผนอย่างมีระบบ

4. เป็นประชาธิปไตย

5. เป็นกระบวนการส่งเสริมสร้างสรรค์

6. มุ่งส่งเสริมบำรุงขวัญ

7. ทำงานเป็นทีมมากกว่าแบ่งแยกเป็นรายบุคคล

8. เน้นพัฒนาวิชาชีพมากกว่าความสัมพันธ์ส่วนบุคคล

9. ส่งเสริมและพัฒนาครูตามความถนัดและความสามารถ

10. ควรเริ่มต้นจากสภาพการณ์ปัจจุบันที่กำลังเผชิญอยู่

11. นิเทศอย่างง่ายๆ ไม่มีพิธีการ

12. ใช้เครื่องมือและกลวิธีง่าย



                   สรุป  การนิเทศการศึกษา มีความพยายามที่ให้การศึกษาไทยก้าวหน้าและพัฒนาสถานศึกษาให้ทันต่อเหตุการณ์และโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และช่วยเหลือสนับสนุนให้ครูสามารถพัฒนางานในวิชาชีพของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล



บรรณานุกรม

วัชรา  เล่าเรียนดี. การนิเทศการสอน. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร  วิทยาเขตพระราชวัง

                   สนามจันทร์, 2550.

สมลักษณ์  พรหมมีเนตร. คู่มือการบริหารงานวิชาการที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางของผู้ช่วย

ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 7. พิษณุโลก :           หน่วยศึกษานิเทศก์  กรมสามัญศึกษา, 2544.

สงัด  อุทรานันท์. การนิเทศการศึกษา : หลักการทฤษฎี และปฏิบัติ. (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม).       

                    พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มิตรสยาม, 2530.

อเนก  สองแสง. การนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ : ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา  คณะคุรุศาสตร์                                       

                    สถาบันราชภัฏพระนคร, 2540.

Bruton, William H. and Leoj. Brueckner, Supervision : A Social Process, 2d ed . New

                   York : Appleton-Century Crofts, 1947.















· คำสำคัญ (keywords): รูปแบบการนิเทศแนวใหม่, บูรณาการสู่สถานศึกษา
· เลขที่บันทึก: 362279
· อ่าน: แสดง · ดอกไม้: 0 · ความเห็น: 0 · สร้าง: 3 ปีที่แล้ว

· สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆ

2 ความคิดเห็น:

  1. youtube.com/channel-embed/18464574-bmpf-spoofed-online-sport-casino
    › youtube.com › youtube.com Watch short videos about how to make a youtube converter YouTube channel that will let you watch, how you can earn Watch videos about how to make a YouTube channel that will let you watch, how you can earn.

    ตอบลบ
  2. JW Marriott Spa Las Vegas: $100 million renovation
    The hotel opened in October 김해 출장마사지 2020. It's the 군산 출장샵 latest addition to the Wynn collection 하남 출장마사지 of Wynn Resorts properties, and 진주 출장안마 has grown over 목포 출장안마 the years.

    ตอบลบ